Graphics Drawing

การวาดเส้นออกแบบลวดลาย

ในงานออกแบบลวดลายจะเป็นตัวตกแต่งที่สำคัญ และถูกนำมาคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมลงตัว สวยงาม และบ่งบอกถึงระดับฐานะยศศักดิ์ด้วย การทำงานเกี่ยวกับลวดลายจะเห็นว่า นักออกแบบ หรือช่างฝีมือ ต้องนำมาประกอบตั้งแต่งานชิ้นเล็ก ได้แก่ แหวน ตา หู ตลอดไปถึงงานก่อสร้างใหญ่โต จะเห็นได้ว่าเป็นการเกาะติด บนผิว ของชิ้นงานตั้งแต่การเริ่มคิดสร้างชิ้นงานแล้ว การศึกษา และฝึกปฏิบัติวาดเส้นลวดลาย จึงมีความจำเป็นเพื่อสนองความต้องการในการนำประกอบ ผลงานบางชิ้น ที่ต้องการเสริม การ ตกแต่งให้มีความสวยงาม มีคุณค่า และสะท้อนให้เห็นถึงความสามรถทางความคิดที่จัด องค์ประกอบของเส้นอย่างมีจังหวะเกี่ยวพัน และสัมพันธ์กัน

งานวาดเส้นลวดลาย
ลวดลายเป็นงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ของแต่ละ เชื้อชาติ และสืบทอกกันมาตาม สกุลช่าง ดังนั้นลวดลายที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน นอกจากความสวยงามที่ถ่ายทอดออกมาทางด้านทักษะฝีมือ ความนึกคิดสร้างสรรค์ทางงานศิลปะยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึง ความละเอียดอ่อนทางอารมณ์ของชนชาตินั้น ๆ และเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาตินั้น ๆ

ภาพที่ 7.1 แบบวาดเส้นลวดลายของชาวอินเดีย
ที่มา (Mumbai, 1999, pp. 29)

ภาพที่ 7.2 แบบวาดเส้นลวดลายของชาวอินโดนีเซีย
ที่มา (ปรัชญา อาภรณ์, 2538, หน้า 16)

ภาพที่ 7.3 แบบวาดเส้นลวดของชาวจีน
ที่มา (ปรัชญา อาภรณ์, 2538, หน้า 17)

ภาพที่ 7.4 แบบวาดเส้นลวดลายของชาวยุโรป
ที่มา (ปรัชญา อาภรณ์, 2538, หน้า 18)

ภาพที่ 7.5 แบบวาดเส้นลวดลายชาวอียิปต์
ที่มา (ปรัชญา อาภรณ์, 2538, หน้า 19)

ภาพที่ 7.6 แบบวาดเส้นลวดลายบนผิวเครื่องปั้นดินเผา
(แสดงแบบวาดเส้นลวดลายบนผิวเครื่องปั้นดินเผาของลายบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี)

ในการศึกษาเกี่ยวกับลวดลายต่าง ๆ จึงมีแนวทางการศึกษา และฝึกปฏิบัติดังนี้
1. ศึกษางวดลายที่เกิดจากวาดเส้นที่มีแบบแผน ในการกำหนดระยะแน่นอน มีกรอบกำหนดให้วาดลาย หรือเรียกว่า PATTERNS ลักษณะงานให้ความรู้สึกที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความชัดเจน ซึ่งมีทั้งเหลี่ยม โค้ง และวงกลม ซึ่งมีรูปแบบซ้ำ ๆ กัน แต่ต่อเนื่องผูกพัน

ภาพที่ 7.7 ภาพวาดเส้นที่มีแบบแผน
(แสดงแบบวาดเส้นลวดลายในวงกลมที่มีแบบแผน ในการกำหนดระยะแน่นอน)

2. ศึกษาลวดลายที่เกิดจากวาดเส้นอิสระ หรือเรียกว่า FOLK DESIGNS เป็นการวาดเส้นไม่อาศัยกรอบ หรือ การแบ่งระยะด้วยเครื่องวัดที่ตายตัว แต่ลวดลาย ก็มีจังหวะของตัวลาย เป็นลักษณะ และ รูปแบบเดียวกัน ให้ภาพเป็นลักษณะลวดลายอิสระ ไม่ต้องคำนึงถึงการซ้ำกันที่จะต้องเหมือนกันทุกระยะ

ภาพที่ 7.8 ภาพวาดเส้นอิสระ
(แสดงแบบลวดลายการวาดเส้นไม่อาศัยการแบ่งระยะที่แม่นยำ ใช้วิธีแบ่งจังหวะของลายโดยอาศัยทักษะและความชำนาญ)

ในงานออกแบบวาดเส้นจึงแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ ลวดลายมีแบบแผน หรือที่เรียกว่า PATTERNS และลวดลายทักษะอิสระ หรือที่เรียกว่า FOLK DESIGNS
ลวดลายที่มีแบบแผน
ลวดลายในลักษณะนี้มีการจัดวางซ้ำ ๆ กัน และสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น
1. ลวดลายที่จัดอยู่ในวงกลมซึ่งจะอยู่ในลักษณะของรูปเหลี่ยมต่างๆ ในขั้นแรกจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจกับคุณสมบัติของรูปเหลี่ยมต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานและแนวทางที่สำคัญในการ วาดเส้นและออกแบบลวดลาย ซึ่งมีดังนี้

รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า มุมภายในเท่ากับ 60 องศา รูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า มุมภายในเท่ากับ 90 องศา

รูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า มุมภายในเท่ากับ 108 องศา รูปหกเหลี่ยมด้านเท่า มุมภายในเท่ากับ 120 องศา

รูปเจ็ดเหลี่ยมด้านเท่า มุมภายในเท่ากับ 129 องศา รูปแปดเหลี่ยมด้านเท่า มุมภายในเท่ากับ 135 องศา

รูปเก้าเหลี่ยมด้านเท่า มุมภายในเท่ากับ 140 องศา รูปสิบเหลี่ยมด้านเท่า มุมภายในเท่ากับ 144 องศา

ในรูปเหลี่ยมต่าง ๆ บางรูปจะเห็นได้ว่า เกิดจากแบ่งมุมภายในกัน เช่น รูปหกเหลี่ยมเกิดจาก การแบ่งครึ่งด้านของรูปสามเหลี่ยม รูปแปดเหลี่ยมเกิดจากการแบ่งครึ่งมุมของรูป สี่เหลี่ยม รูปสิบเหลี่ยมเกิดจากการแบ่งครึ่งมุมของรูปห้าเหลี่ยม ดังนั้นการคิดแบ่งกรอบในการออกแบบเพื่อให้มีจังหวะเท่ากันหรือเป็นชุดเดียว กัน การจัดกลุ่มของการแบ่งมุมก็มีความสำคัญในเบื้องต้น
ในการแบ่งรูปเหลี่ยมให้รูปด้านเท่าๆ กัน อาจทำได้หลายวิธี การใช้วงเวียนเป็นวิธีหนึ่งที่ นักออกแบบนิยมใช้ และ เป็นเครื่องมือที่ช่างฝีมือมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งมีรูปแบบที่ นำมาใช้ตลอดจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การใช้วงเวียนแบ่งวงกลมให้ได้รูปสามเหลี่ยม หกเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม สิบเหลี่ยม รูปแบบลวดลายที่อยู่ในวงกลม

วิธีสร้างรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า มีขั้นตอนดังนี้
1. วาดรูปวงกลม
2. ลากเส้นผ่าศูนย์กลางทั้งแนวตั้ง และแนวนอน
3. แบ่งครึ่งรัศมีที่จุด A เขียนวงกลม ให้ B เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมีสัมผัสกับวงกลม A ที่จุด C และ E
4. ลาก D-E และใช้ D-E เป็นรัศมี
5. เขียนส่วนโค้งตัดวงกลมใหญ่
6. ลากเส้นตามจุดตัด

รูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าแสดงให้เห็นดังภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 7.9 ภาพวิธีสร้างรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า
(แสดงการสร้างรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าโดยใช้วงเวียน)

วิธีสร้างรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า
1. เขียนรูปวงกลมให้ A เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี เท่ากับ AB
2. ให้จุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งตัดวงกลม และจากจุดที่ถูกตัดก็ให้เป็นจุดศูนย์กลาง
3. ใช้เขียนตัดไปรอบ ก็จะเป็นการแบ่งวงกลมได้เป็น 6 ส่วนเท่ากัน
4. ลากเส้นไปตามจุดตัด

รูปหกเหลี่ยมด้านเท่าแสดงให้เห็นดังภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 7.10 ภาพวิธีสร้างรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า
(แสดงการสร้างรูปหกเหลี่ยมด้านเท่าโดยใช้วงเวียน)

ภาพที่ 7.11 ภาพแบบลวดลายมีแบบแผนของโครงสร้าง
(แสดงลวดลายที่ออกแบบในวงกลมที่มีการแบ่งระยะลงตัว มีแบบแผนของโครงสร้าง)

การเขียนลวดลายในวงกลมที่มีแบบแผน เป็นการวาดเส้นที่ต้องอาศัยความคิดในการสร้างสรรค์ลวดลายโดยใช้เครื่องมือ หลายชนิดมาร่วมกัน มีทั้งไม้บรรทัดที่ใช้วัดระยะ วงเวียนชนิดที่จับได้ทั้งปากกาและดินสอ ไม้บรรทัดโค้ง และแผ่นเจาะกลมขนาดต่าง ๆ

ขั้นตอนในการวาดลวดลายในรูปแบบซ้ำกัน หรือลายย่อย 16 ลาย

ภาพที่ 7.12 ภาพขั้นตอนการวาดลวดลายในรูปแบบซ้ำกัน (1)
(แสดงแบ่งรอบวงกลมออกเป็น 16 ส่วนเท่า ๆ กัน แบ่งรัศมีเพื่อสร้างวงกลม 3 วง 3 ขนาด)

ภาพที่ 7.13 ภาพขั้นตอนการวาดลวดลายในรูปแบบซ้ำกัน (2)
(แสดงตัดแต่งส่วนของวงกลมให้เหลือตัวลายเพียง 1 ตัว แล้ว ทำซ้ำไปรอบวงกลมตามช่องที่แบ่งไว้เท่ากันแล้ว 16 ตัว)

ภาพที่ 7.14 ภาพขั้นตอนการวาดลวดลายในรูปแบบซ้ำกัน (3)
(แสดงตัดส่วนของลายที่ซ้อนทับออก และเริ่มวาดลาย วงใน 1 ตัว แล้วทำซ้ำให้มีขนาด สัดส่วนเท่ากันอีก 16 ส่วนเท่ากัน)

ภาพที่ 7.15 ภาพขั้นตอนการวาดลวดลายในรูปแบบซ้ำกัน (4)
(แสดงการเพิ่มลายระเอียดของของลาย ในลักษณะการกำหนดขึ้นก่อน 1 ส่วน แล้วใช้วิธีการทำซ้ำให้มีขนาดสัดส่วนเท่ากันอีก 16 ส่วน)

การสร้างสรรค์งานลวดลายที่มีระยะลงตัว กำหนดแน่นอน มีความเท่ากันอย่างมี แบบแผน จะเห็นว่าต้องใช้ความตั้งใจและความแม่นยำในการกำหนดระยะ และลักษณะของเส้นจะต้องมีขนาดรูปแบบที่เท่ากันจริง ๆ จึงจะได้ลวดลายที่ถูกต้องสวยงามสมบูรณ์

ภาพที่ 7.16 ภาพโครงสร้างการแบ่งเส้นรอบวงการแบ่งเส้นรอบวง เพื่อการกำหนดละออกแบบลวดลาย
ที่มา (Meyer, 1957, pp. 15)

ภาพที่ 7.17 ภาพโครงสร้างลวดลายที่แบ่งส่วนระยะลงตัวเท่ากัน และแนวทางการออกแบบลวดลาย
ที่มา (Franz Sales Meyer, 1957, pp. 19)

2. ลวดลายต่อแนว จะมีทั้งแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งใช้งานตกแต่งต่างกัน คือ แนวตั้งมักจะตกแต่งส่วนที่เป็นเสา เป็นขา หรือขอบสิ่งก่อสร้างแนวดิ่ง ส่วนลวดลายแนวนอนใช้ ตกแต่งประดับส่วนที่เป็นฐาน หรือขอบบนของสิ่งก่อสร้าง ทั้งสองรูปแบบนี้ผลงานวาดเส้นที่ออกมามีได้ทั้งการเป็นงานสองมิติ หรือ 3 มิติ ซึ่งทำได้ทั้งการแกะสลัก หรือปั้นปูนให้นูนขึ้น รูปแบบของลวดลายจะมีการแบ่งระยะเท่ากันอย่างมีแบบแผนต่อเนื่อง ทั้งรูปแบบแนวตั้ง รูปแบบแนวนอน การสร้างสรรค์งานทั้งสองแบบสามารถใช้คนมาช่วยงานได้จำนวนมาก เพราะสามารถทำไปตามรูปแบบระยะที่กำหนดไว้ให้ได้

ภาพที่ 7.18 ภาพลวดลายต่อแนวที่แบ่งส่วนลักษณะสี่เหลี่ยมและจัดวางต่อเนื่อง
ที่มา (Franz Sales Meyer, 1957, pp. 141)

ภาพที่ 7.19 ภาพลวดลายต่อแนวที่แบ่งส่วนลักษณะสี่เหลี่ยม และจัดวางเฉียงชนมุมต่อเนื่อง
ที่มา (Franz Sales Meyer, 1957, pp. 141)

ภาพที่ 7.20 ภาพโครงสร้างลวดลายต่อแนว ที่แบ่งส่วนใช้วงกลม และจัดวางต่อเนื่องลวดลาย
ที่มา (Franz Sales Meyer, 1957, pp. 137)

ภาพที่ 7.21 ภาพแสดงโครงสร้างวาดลวดลาย โดยอาศัยเครื่องมือทั้งวงกลมไม้บรรทัด วาดลวดลาย

ที่มา (Meyer, 1957, pp. 137)

ลวดลายทักษะอิสระ
การวาดเส้นลวดลายที่ไม่อาศัยรูปแบบของกรอบระยะ จากเครื่องวัดเข้าช่วย จะพบมากในงานเขียนลายประกอยงานหัตกรรม งานที่ไม่ก่อสร้างใหญ่โตมากนัก ทำได้สะดวก แล้วเสร็จเร็ว อาศัยคนจำนวนน้อย ใช้ความสามรถเฉพาะตัว ตัวอย่างลวดลายที่เขียนบนเครื่องปั้นดินเผา งานเขียนลวดลายบนผ้า การเขียนลวดลายบนร่างกายผิวหนัง (TATOO) รูปแบบของงานลักษณะนี้มีได้ทั้งอยู่ในรูปวงกลม สี่เหลี่ยม เป็นแนวนอน แนวตั้ง ลายคลุมพื้น หรือวาดเต็มพื้นที่ และลายเด่นลอยเฉพาะตัว


ภาพที่ 7.22 ภาพลวดลายทักษะอิสระ รูปแบบเคล้าโครงสี่เหลี่ยม
ที่มา (Meyer, 1957, pp. 59, 66, 67, 73)



ภาพที่ 7.23 ภาพลวดลายทักษะอิสระรูปแบบเคล้าโครงสี่เหลี่ยม
ที่มา (Meyer, 1957, pp. 62, 71, 81, 82, 132, 133)

รูปแบบของวงกลม FOLK DESIGNS



ภาพที่ 7.24 ภาพลวดลายทักษะอิสระรูปแบบเคล้าโครงวงกลม
ที่มา (Meyer, 1957, pp. 43, 48, 49, 50, 51, 53)



ภาพที่ 7.25 ภาพลวดลายทักษะอิสระ รูปแบบเค้าโครงวงกลม
ที่มา (Meyer, 1957, pp. 52, 54, 55, 68, 139, 197)

การได้ศึกษาจากรูปแบบดั่งเดิมก่อนการลงมือวาดเส้น ลวดลายในลักษณะทักษะอิสระ จะทำให้รู้ถึงแนวคิด การสร้างสรรค์ผลงานของมนุษย์ ได้เป็นอย่างดีว่า คิดอย่างไร เริ่มต้นอย่างไร วาดเส้นอย่างไร จนได้รูปแบบที่ดีอย่างไร เป็นแนวทางวาดเส้นออกแบบสร้างสรรค์ นำไปประกอบงานตกแต่งได้เป็นอย่างดี


ภาพที่ 7.26 ภาพลวดลายทักษะอิสระ รูปแบบคลุมพื้นที่ หรือลายพื้นของผ้า
ที่มา (May, n.d., pp. 167)

ภาพที่ 7.27 ภาพลวดลายทักษะอิสระอิสระแนวตั้ง
ที่มา (May, n.d., pp. 211)

ภาพที่ 7.28 ภาพลวดลายทักษะอิสระแนวนอน
ที่มา (May, n.d., pp. 205)

ภาพที่ 7.29 ภาพลวดลายทักษะอิสระที่เป็นลักษณะเด่นลอยเฉพาะตัวแต่ส่วนประกอบภาพภายในเป็นลวดลายที่มีเคล้าโครงที่ต่อเนื่องเหมือนกัน
ที่มา (May, n.d., pp. 346)

การวาดลวดลาย และ ผลงานทักษะอิสระ มีเกือบกันทุกชนชาติ มีทั้งเขียนบนภาชนะ หรือเครื่องใช้ค่างๆ บนผ้า หรือ เครื่องนุ่งห่ม บนอาคารที่อยู่อาศัย ทั้งภายใน ภายนอก บางเผ่าพันธุ์ก็เขียนบนร่างกาย จุดประสงค์ของการเขียนก็เพื่อประดับตกแต่ง ให้เกิดความสวยงาม เพื่อบ่งบอกถึงระดับฐานะของผู้เป็นเจ้าของ และ จากธรรมชาติ ที่ต้องแสดงออก ถึงความคิดสร้างสรรค์ ที่เป็นคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่ง ของมนุษย์เรา

สรุป
งานวาดเส้นลวดลาย เป็นงานออกแบบในลักษณะของการตกแต่งมีทั้งตกแต่งงานสิ่งก่อสร้างทั้งขนาดเล็ก และ ใหญ่ ตกแต่งงานหัตกรรมเครื่องใช้ต่าง ๆ รูปแบบของลวดลายมี รูปแบบของการวาดเส้นมีระเบียบแบบแผน กำหนดระยะแน่นอน และรูปแบบของการวาดเส้นที่ไม่กำหนดระยะแน่นอน อยู่ในการวาดเส้นที่อาศัยทักษะฝีมือ ในการจัดลวดลาย หรือ ในลักษณะการวาดเส้นอิสระ ซึ่งทั้งสองอาจมีโครงสร้างทั่วไปที่คล้าย ๆ กัน ลวดลายที่อาศัย รูปวงกลม รูปหลายเหลี่ยม จัดองค์ประกอบในแนวตั้ง จัดองค์ประกอบในแนวนอน

 

ใส่ความเห็น